วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาท สืบพันธุ์ และต่อมไร้ท่อ


อวัยวะในร่างกายเรานั้นทำงานสัมพันธ์กันเป็นระบบและมีความสำคัญต่อร่างกาย ดังนั้นหากระบบใดทำงานผิดปกติไปก็จะส่งผลต่อระบบอื่นๆทั้งระบบด้วย เราจึงควรบำรุง รักษาอวัยวะต่างๆในร่างกายให้ดี ซึ่งจะทำให้เรามีสุขภาพที่ดี
ร่างกายเราประกอบไปด้วยเซลล์ที่แตกต่างกันหลายล้านเซลล์ และเมื่อกลุ่มเซลล์มารวมกันและทำหน้าที่เหมือนกันก็จะเรียกว่า เนื้อเยื่อ และเมื่อเนื้อเยื่อมารวมกันโดยทำหน้าที่เหมือนกันก็จะเรียกว่า อวัยวะ และ หลายๆอวัยวะทำงานต่างกันมารวมกันก็จะกลายเป็น ระบบ ในร่างกาย ซึ่งระบบในร่างกายนั้นทำหน้าที่แตกต่างกันแต่ต้องทำงานอย่างสอดคล้องกันจึงจะสามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
1.1     ความสำคัญ และหลักการการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย
มนุษย์จะอยู่ได้ก็ด้วยการทำงานของอวัยวะต่างๆ ทั้งในและนอกร่างกาย ระบบต่างๆต้องพึ่งพา
และทำงานสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ดังนั้นหากอวัยวะใดเสียจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปทั่วร่างกาย เราจึงต้องรักษาร่างกายให้แข็งแรง เพื่อคงประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายให้ปกติ
หลักการการเสริมสร้าง และดำรงประสิทธิภาพร่างกายมีดังนี้
1.        รักษาอนามัยส่วนบุคคล และบริโภคอาหารให้ถูกต้องเหมาะสม
2.        ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ แล้วทำจิตใจให้แจ่มใส
3.        หลีกเลี่ยงอบายมุข และสิ่งเสพติดให้โทษ
4.        ตรวจร่างกายสม่ำเสมอ
1.2     ระบบประสาท (Nervous System)
ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท ที่ทำหน้าที่คุมการทำงานและรับความรู้สึก อารมณ์ต่างๆ
1.2.1            องค์ประกอบของระบบประสาท
1.2.1.1 ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System): ประกอบด้วย สมอง ไขสันหลัง
สมอง คือ อวัยวะที่สำคัญ และใหญ่ที่สุดในระบบประสาท เป็นศูนย์รวมใยประสาทคุมระบบต่างๆ และเป็นศูนย์เกี่ยวกับความคิด ความจำ ความรู้สึก นึกคิดต่างๆ
ไขสันหลัง ส่วนที่ต่อจากสมอง ลงไปถึงบั้นเอว และมีเส้นประสาทแตกแขนงออกมามาก ทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากอวัยวะต่างๆ ส่งไปยังสมอง และคุม ปฏิกิริยารีเฟลกซ์ (Reflex Action) ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยที่ไม่ต้องใช้สมองเป็นตัวสั่งการ (โดยไม่ต้องคิด)
1.2.1.2 ระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nervous System): ประกอบด้วยเส้นประสาทสมอง เส้นประสาทไขสันหลังและประสาทระบบอัตโนมัติ ระบบส่วนนี้จะทำหน้าที่นำกระแสประสาทจากอวัยวะต่างๆเข้าสมอง และรับการตอบสนองจากสมองส่งไปยังอวัยวะปฏิบัติงาน
1.2.2        การทำงานของระบบประสาท
ระบบประสาทจะทำงานประสานกับหลายๆระบบในร่างกาย เช่น ขณะที่นั่งอ่านหนังสือ สมองจะคุมทั้งเรื่อง กล้ามเนื้อต่างๆ (เช่น การกระพริบตา นั่งตัวตรง ยกหนังสือขึ้นอ่าน เป็นต้น) คุมเรื่องความคิด ความจำ รวมทั้งการควบคุมสมดุลระบบต่างๆในร่างกายด้วย
1.2.3        การรักษาระบบประสาท
1.        ระวังไม่ให้มีการกระทบกระเทือน และเลี่ยงยาบางชนิดที่อาจมีผลต่อสมอง
2.        พักผ่อนให้พอ และทานอาหารที่มีประโยชน์
1.3 ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive System) เป็นการเพิ่นจำนวนสิ่งมีชีวิตทดแทนที่ตายไป เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์
1.3.1        อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย
1.        อัณฑะ (Testis) มีหน้าที่ผลิตตัวอสุจิ และผลิตฮอร์โมนเพศชาย
2.        ถุงหุ้มอัณฑะ (Scrotum) หย่อนลงมาเพื่อนำอัณฑะหนีจากอุณหภูมิของร่างกายเพื่อการสร้างอสุจิ
3.        หลอดเก็บอสุจิ (Epididymis)
4.        หลอดนำอสุจิ (Vas Deferens)
5.        ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (Seminal Vesicle)
6.        ต่อมลูกหมาก (Prostrate Gland) สร้างสารเป็นเบสไปในท่อปัสสาวะเพื่อปรับความเป็นกรดให้อสุจิ
7.        ต่อมคาวเปอร์ (Cowper’s Glands) สร้างสารหล่อลื่นไปในท่อปัสสาวะให้อสุจิเคลื่อนที่เร็ว
1.3.2            อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
1.        รังไข่ (Ovary) ผลิตใข่ และผลิตฮอร์โมนเพศหญิง
2.        ปีกมดลูก (Fallopian Tube) หรือท่อนำไข่ (Oviduct)
3.        มดลูก (Uterus) เป็นที่ฝังตัวของตัวอ่อนที่ได้รับการผสมแล้ว
4.        ช่องคลอด (Vagina) เป็นทางเข้าของอสุจิ และเป็นทางออกของทารกเมื่อถึงเวลาคลอด
1.3.3        การบำรุงรักษาระบบสืบพันธุ์
1.        ดูแลร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ
2.        งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่สำส่อนทางเพศ
3.        ทำความสะอาดร่างกายให้ทั่ว สวมเสื้อผ้าที่สะอาด และไม่ใช้เสื้อผ้าร่วมกับผู้อื่น
1.4 ระบบต่อมไร่ท่อ (Endocrine System)
1.4.1        ต่อมไร้ท่อในร่างกาย
1.        ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland)
2.        ต่อมหมวกไต (Adrenal Gland)
3.        ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland)
4.        ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid Gland)
5.        ต่อมในตับอ่อน (Islets Of  Langerhans)
6.        รังไข่ และ อัณฑะ
7.        ต่อมไทมัส (Thymus Gland)
1.4.2            การบำรุงรักษาต่อมไร้ท่อ
1.        ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ
2.        ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ
3.        ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น